Switch
Switch ที่เราเรียกกันแบบติดปากทุกวันนี้ ความจริงแล้วถ้าพูดชื่อเต็มๆ ก็คือ Network switch หรือ Switching hub, Bridging hub ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประเภทหนึ่งของ Computer Network เช่นเดียวกับ Hub มีหน้าที่ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ เข้าด้วยกันในระบบ โดยอาศัยการทํา Packet Switching ที่จะรับประมวลผล และส่งข้อมูลต่อไปยังปลายทาง เพียงแค่หนึ่ง หรือ หลายPort ไม่ใช่การ Broadcast ไปทุกPort เหมือนกับ Hub โดยการเชื่อมต่อเข้ากับ Switch เราจะใช้เพียงสาย Cable ต่อเข้ากับPort ของตัว Switch เครื่องนั้นๆ และนําไปต่อเข้ากับ Port ของอุปกรณ์อื่นๆ โดยอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่อเข้ากับ Switch จะได้รับ Network Address เพื่อบ่งบอกตัวตนของแต่ละอุปกรณ์ เพื่อให้การส่งข้อมูล Packet สามารถส่งไปถึงได้อย่างถูกต้อง และเจาะจงอีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับตัว Network อีกด้วย
Switch มีบทบาทใน Ethernet Local Area Networks เป็นอย่างมาก (หรือที่คุ้นเคยและเรียกกันว่า LANs) ตั้งแต่ระบบขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ LAN จะประกอบด้วย Switch จํานวนหนึ่ง ที่ทําหน้าที่จัดการระบบ Network โดย Switch แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ
• L1-Switch : เป็น Switch ที่ทํางานอยู่ในระดับ Physical Layer ทําหน้าที่เช่นเดียวกับ Hub เป็นเหมือน Repeater ทําหน้าที่ Broadcast ข้อมูลไปทุก Port ซึ่งก่อให้เกิดข้อจํากัดด้านความเร็ว
• L2-Switch : ทํางานระดับ Data Link Layer ทําหน้าที่เป็น Network bridge ซึ่ง Switch ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบนี้มีประสิทธิภาพสงูกว่า Hub หรือ L1-switch
• L3-Switch : ทํางานระดับ Network Layer ทําหน้าที่เป็น Router มีคุณสมบัติ IP Multicast ส่งข้อมูลให้เป็น Group ได้

Cisco Switch
ด้วยความที่ Cisco เป็นผู้ผลิตชั้นนําระดับโลกนั้นทําให้ Cisco เข้าใจถึงตัว Switch และผู้ใช้งานเป็นอย่างดี สิ่งนี้ทำให้ Switch ของ Cisco มีความก้าวหน้า และการปรับตัวสําหรับผู้ใช้งานอยู่ตลอดเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายในการใช้งาน ที่ตัวผู้ใช้งานสามารถเลือกตาม ความต้องการของตนเองได้ โดย Switch ของ Cisco มีออพชั่นให้เราได้เลือกปรับใช้งานที่ครอบคลุม และหลากหลายมาก ประกอบไปด้วย โหมดการควบคุมแฟบริคแบบเต็มรูปแบบ การจัดการผ่านคลาวด์ หรือการจัดการแบบดั้งเดิม ซึ่งมีทั้งคุณสมบัติขนาด ความเร็วของพอร์ต และประเภทของอินเทอร์เฟซมากมายตั้งแต่ 1G ไปจนถึง 100G
Switch ของ Cisco ทําผู้ใช้งานสามารถออกแบบระบบเครือข่ายตามที่ต้องการได้ เพราะ Switch ของ Cisco ถูกออกแบบมาโดยโฟกัสไปที่คอนเซ็พท์ “ระบบเครือข่ายตามความต้องการของผู้ใช้” แต่ใช่ว่าความต้องการของผู้ใช้ จะก่อให้เกิดช่องว่างด้านความปลอดภัยขึ้นแต่อย่างใด เพราะ Switch ของ Cisco ขับเคลื่อนตามความต้องการ และได้รับแจ้งข้อมูลจากบริบท พร้อมด้วยการรักษาความปลอดภัยที่ฝัง ตัวอย่างทั่วถึง ดังนั้น Switch ของ Cisco จึงช่วยให้เครือข่ายของผู้ใช้งาน ได้เรียนรู้ และพัฒนา เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านธุรกิจ ของผู้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
Switch ของ Cisco มีรองรับในทุกระบบเครือข่าย สามารถแบ่งออกเป็น 6 รูปแบบด้วยกันคือ
1. Switch เชื่อมต่อ LAN : มีความปลอดภัยสูง ถูกออกแบบมาเพื่อให้การเชื่อมต่อนั้นง่ายยิ่งขึ้น
2. Switch LAN Digital Building : เน้นการขยายขอบเขตของการใช้งานเป็นหลัก มีขนาดเล็ก แต่มีความยืดหยุ่นสูง
3. LAN หลักและการกระจาย : โซลูชั่นสําหรับองค์กร มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับขนาด และมีการบริการขั้นสูงติดมาให้
4. Switch สําหรับ Data Center : เป็น Switch พิเศษที่ถูกออกแบบมาสําหรับ Data Center ยุคใหม่โดยเฉพาะ
5. Switch ระบบอีเทอร์เน็ตสําหรับธุรกิจระดับอุตสาหกรรม : ปรับขนาดได้ และปลอดภัยในระดับอุตสาหกรรม
6. Switch สําหรับธุรกิจขนาดเล็ก : Switch ที่มีพร้อมทั้งคุณสมบัติ ราคาที่ย่อมเยา เหมาะสําหรับธุรกิจที่กําลังเติบโต
อย่างไรก็ตาม Switch ของ Cisco ยังได้เน้นไปที่ 2 กลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งหากผู้ใช้งานที่อยู่ใน 2 กลุ่มนี้ก็จะยิ่งได้รับประโยชน์ที่มากขึ้น และตรงใจมากกว่าเดิม โดย 2 กลุ่มดังกล่าวประกอบไปด้วย “Switch สําหรับ Data Center หรือศูนย์ข้อมูล” และ “Switch สําหรับองค์กร”
• Switch สําหรับศูนย์ข้อมูล : โดดเด่นด้วยฟีเจอร์ที่สามารถปรับขนาดได้ด้วย Cloud Scale มีระบบการรักษาความปลอดภัย แบบฝังตัว การวิเคราะห์เชิงลึกแบบเรียลไทม์ พอร์ตหลายความเร็ว และความได้เปรียบในเชิงต้นทุน มีระบบอัตโนมัติอย่าง Cisco ACI ช่วยลดความซับซ้อนในการทํางานลง สามารถผสานรวมกับเครื่องมือของ Devops จากภายนอก ให้เข้ากับ API แบบเปิดได้ โดย Switch ของ Cisco ในกลุ่มศูนย์ข้อมูลนี้จะเน้นไปที่รุ่น Nexus เป็นหลัก โดยจะประกอบไปด้วย Cisco Nexus 9000 Series, Cisco Nexus 7000 Series, Cisco Nexus 3000 Series และ ระบบเครือข่ายพื้นที่การจัดเก็บข้อมูล
• Switch สําหรับองค์กร : โดดเด่นด้านความปลอดภัยทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจากการถูกโจมตี มีความยืดหยุ่นสูง สามารถจัดการเครือข่ายทั้งแบบมีสาย และไร้สายได้อย่างง่ายดาย สามารถปรับขนาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ทั้งด้านความ เป็นระบบอัตโนมัติ และดิจิตอล โดย Switch ของ Cisco ในกลุ่มสําหรับองค์กร จะเน้นไปที่รุ่น Catalyst เป็นหลัก โดยจะประกอบไปด้วย Cisco Catalyst 9400 Series, Cisco Catalyst 9300 Series, Cisco Catalyst 9200 Series, Cisco Catalyst 1000 with 8 or 16 ports, Cisco Catalyst 3650 Series, Cisco Catalyst 2960-X and XR Series, และ Meraki Access switches
Cisco Digital Network Architecture (Cisco DNA) สําหรับ Switch
Cisco Digital Network Architecture (Cisco DNA) เป็นแพลตฟอร์มสําหรับสร้าง Digital Business แบบครบวงจร ช่วยให้องค์กร สามารถเริ่มต้นใช้งานระบบ Software-defined Network, Virtualization, Automation, Analytics และ Cloud โดยมองรวมกันเป็นระบบเดียว และสามารถบริหารจัดการได้โดยง่าย โดย Cisco DNA สําหรับ Switch จะให้บริการรูปแบบ Subscription หรือการสมัครสมาชิก มีความยืดหยุ่นสูง เน้นการใช้งานให้เข้าถึงได้ง่าย จัดการทั้งด้านความปลอดภัย การพัฒนา Internet of Things (IoT) รวมไปถึงติดตามการ เคลื่อนไหวต่างๆ ได้อย่างทันทีแบบทุกที่ทุกเวลา สามารถรู้ถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในทันที สามารถแปลงข้อมูลให้ เป็นข้อมูลเชิงธุรกิจ และไอทีได้ แยกส่วนง่าย ไม่ต้องทําการออกแบบระบบ Network ขององค์กรใหม่ให้ยุ่งยากแต่อย่างใด
สําหรับองค์กรที่สนใจใน Cisco Switch และ Cisco DNA และต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมทาง WTC เป็นบริษัทตัวแทน จําหน่ายอย่างเป็นทางการของ Cisco ที่มีทั้งความพร้อมศักยภาพ และความสามารถที่จะดูแลให้คําปรึกษา และดําเนินการเกี่ยวกับเรื่องที่คุณต้องการได้